-->

สินค้าและบริการ


สินค้าบ้านเห็ด เป็นสินค้าที่ได้ออกแบบในแนวคิด"เกษตรอัตโนมัติและ CITY FARM" โดยนำอุปกรณ์กระจายน้ำฝอยและสร้างหมอก "ยูเล็ม ULEM-Ultra Low Energy Mist "เป็นอุปกรณ์หลักในการออกแบบ เช่น โรงเพาะเห็ดอัตโนมัติ แปลงปลูกผักอัตโนมัติ ถังเพาะถั่วงอกอัตโนมัติ เป็นต้น

ยังมีสินค้าที่เป็นอุปกรณ์การทำเห็ด ที่ได้ทดลองและออกแบบให้เหมาะสมกับผุ้เริ่มต้น เพาะเห็ดเป็นอาชีพ เช่น ถั่งนึ่งก้อนเชื้อเห็ด เราหวังลึกๆว่าสินค้าที่ดูแปลกไม่ค่อยคุ้นตา จะเป็นทางเลือกใหม่สำหรับการเกษตรไทยในอนาคต

เข้าชมรายละเอียด
------------------------------------------------------------------------------------------------------------


คู่มือการใช้ตู้เขี่ยเชื้อกระดาษ

สาธิตการประกอบตู้เขี่ยเขื้อกระดาษก่อนใช้งาน
ตู้เขี่ยเชื้แกระดาษ ประกอบง่ายนิดเดียว ดูใน คลิ๊ป ล่างนี้นะครับ แต่ถ้ายังสงสัยประการใด ก็ติดต่อที่ ศูนย์เรียนรู้บ้านเห็ด Tel 081-441-9642 ทุกวันครับ
แนะนำการใช้งานเขี่ยเชื้อเห็ด
ขั้นตอนที่ 1. ใส่หลอดยูวี หรือ UVC(หลอดใส) ลงบนขาหลอดล่างสุด ส่วนบนใส่หลอดนีออน(หลอดสีขาว) ตามคลิ๊ปที่แนะนำไว้ก่อนหน้านี้
ขั้นตอนที่2. ประกอบกล่อง ปิดฝาล็อกให้เรียบร้อยทั้ง 4จุด ตามคลิ๊ปที่แนะนำไว้ก่อนหน้านี้
รูปขยายการเปิดช่องสำหรับสอดมือเข้าไปทำงานภายในตู้เขี่ยเชื้อ
ขั้นตอนที่3. ปิดช่องสำหรับสอดมือเข้าทำงานในตู้ให้สนิท จากนั้น
เสียบปลั๊กไป และเปิดไฟ ( UV)ให้สว่าง อบทิ้งไว้15-30นาที
หมายเหตุ  ขณะใช้งานให้ปิดไฟ UV และเปิดไฟนีออนเท่านั้น
การเตรียมตู้เขี่ยเชื้อกระดาษให้พร้อมทำงาน
เทคนิคที่ต้องรู้ คือแสงยูวี(UVC)ใช้ฆ่าเชื้อโรคอากาศภายในตู้ได้(ความจริงเชื้อโรคตายเพราะความถี่ของยูวี) ถ้าแสงไปถึงทีใดก็จะฆ่าเชื้อโรคได้
  1. ตู้เขี่ยเชื้อกระดาษใช้ไฟฟ้า 220 VAC(ไฟฟ้าในบ้านทั่วไป)
  2. อุปกรณ์ที่ใช้ในการเขี่ยเชื้อควรอบพร้อมตู้ ยกเว้นเชื้อที่จะทำการเขี่ย 
  3. ควรปิดตู้และอบตู้ที้งไว้อย่างน้อย 15-30นาทีก่อนใช้งาน ไม่ต้องพ่น แอลกอฮอร์ในตู้ เพราะไม่ช่วยในการฆ่าเชื้อโรคเลย 
  4. ปิดหลอดยูวี ทุกครั้งขณะทำงาน
  5. เปิดหลอดนีออน ให้แสงภายในตู้เขี่ยเชื้อ และพัดลมเล็กจะเริ่มทำงาน
  6. ความร้อนที่สะสมไว้ขณะทำงาน ซึ่งเกิดจากตะเกียงแอลกอฮอร์ จะไปรวมกันที่ที่ฝาบนของตู้เขี่ยเชื้อ และจะระบายออกโดยพัดลมเล็ก
  7. กรณีใช้ตู้เขี่ยเชื้อทำงานในสนาม ต้องใช้หินทับที่ขาตู้ไว้กันลม
การใช้งานตู้เขี่ยเชื้อกระดาษ
  • ไม่ควรทำงานติดต่อกันนานไม่เกิน 1-2 ชั่วโมง  หลังจากนั้นควรปิดตู้อบยูวีอีกครั้ง 15-30นาที เพื่อให้อากาศภายในตู้ได้ถูกฆ่าเชื้อทั้งหมด
  • ตู้เขียเชื้อกระดาษห้ามโดนน้ำเด็ดขาด
  • ควรเขี่ยเชื้อตอนเช้าเพราะเสื้อผ้า และร่างกายผู้ทำงานสะอาดที่สุด
  • เครื่องมือต้องนึ่ง หรือ ต้มในอุณหภูมิ100 C (น้ำเดือด) และจับเวลาต่อไปอีก30นาที กรณีไม่มีหม้อนึ่งเครื่องมือแบบแรงดัน  ถ้ามีหม้อนึ่งแบบแรงดันทำตามคำแนะนำของสินค้านั้นๆ
เอกสารคู่มือการใช้ตู้เขี่ยเชื้อกระดาษผ่าน SMART PHONE
QR Code เริ่มเป็นส่วนหนึ่งของโทรศัพย์มือถือทุกรุ่นในปัจจุบัน  ศูนย์เรียนรู้บ้านเห็ดเห็นความสำคัญและความสะดวกโดยทำ QR Code ไว้ที่หน้าตู้เขี่ยเชื้อกระดาษทุกตู้ เพื่อให้ผู้ที่จะใช้ตู้เขี่ยเชื้อกระดาษ สามารถดูคู่มือของตู้เขี่ยเชื้อกระดาษได้ทุกที่ทุกเวลา เพียงให้โทรศัพย์ของท่านอ่าน รหัส QR Code ด้านหน้าเท่านั้น
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อุปกรณ์สร้างหมอกน้ำ/ฝอยน้ำULEM(คลิกเพื่อชมวีธีการติดตั้งและการใช้งาน)

ยูเล็ม ULEM ย่อมาจาก  Ultra Low Energy Mist โดยรศ.ดร ปองวิทย์ ศิริโพธิ์ เป็นผู้คิดค้นและพัฒนาขึ้นเป็นคนแรกของโลก การทำงานของยูเล็ม ใช้หลักการณ์สร้างหมอกน้ำจากแรงเหวี่ยงของจานหมุน ไม่ใช้หัวฉีด ทำให้ยูเล็มมีจุดเด่น กว่าระบบสปริงเกลอร์ ตรงที่ ใช้น้ำอะไรก็ได้ไม่มีการตัน อีกทั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องปั้มน้ำ

ยูเล็มได้ถูกพัฒนาขึ้นมาหลายรุ่น จนถึงปัจจุบัน  อาจารย์ปองวิทย์และบ้านเห็ด ได้แก้ไขข้อเสียของยูเล็มรุ่นก่อนๆ ตลอดจนได้พัฒนาจานยูเล็มขึ้นมาใหม่ล่าสุด  คือจานยูเร็มรุ่นมีขน
จานยูเล็มรุ่นนี้จะมีขนขึ้นโดยรอบจาน ทำให้การทำงานของยูเล็มเป็นไปได้หลาย ลักษณะงาน  ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานเช่น ใช้ให้ความชื้นในโรงเพาะเห็ด  ใช้ให้ความชื้นและรดน้ำในเรือนกล้วยไม้ หรือใช้รดน้ำ ใส่ปุ๋ย ฉีดพ่นย่าฆ่าแมลงในแปลงผัก และใช้ลดความร้อนในปศุสัตว์เป็นต้น
อุปกรณ์สร้่างหมอก/ฝอยน้ำ ยูเล็ม ULEM
ยูเล็มรุ่นใหม่








ลักษณะของจายยูเล็ม
การตัดขนยูเล็มเป็นเทคนิกใหม่ที่นำมาใช้ในการออกแบบจานยูเล็มรุ่นใหม่  ยังผลให้จานยูเล็มหมุนช้าหรือเร็วได้ ซึ่งก็จะทำให้หมอกน้ำเปลี่ยนลักษณะได้ตามการหนุนของจานเช่นกัน
การตัดขนยูเล็มรุ่นใหม่
การตัดขนจานยูเล็ม
  1. ไม่ตัดขน จะทำให้ยูเล็มหมุนช้า การกระจายน้ำได้ไกลเพราะน้ำที่ออกมาลักษณะเป็นฝอยน้ำ ทำให้กระจายได้ไกลประมาณ 3เมตร(เส็นผ่าศูนย์กลาง) เหมาะกับ การใช้ยูเล็มในแปลงผักอัตโนมัติ  ใช้ลดความร้อน  ใช้ในปศุสัตว์  ใช้ให้ความชื้นในสวนปาล์มน้ำมัน
  2. ตัดขนออกครึ่งของความยาว จะทำให้ยูเล็มหมุ่นได้เร็วขึ้น การกระจายน้ำเป็นหมอกน้ำ เหมาะกับ ใช้ในโรงเพาะชำ หรือโรงเรือนกล้วยไม้  แปลงผักอัตโนมัติ โรงเห็ดหูหนู ตึกเลี้ยงนกนางแอ่น 
  3. ตัดขนออกหมด ยูเล็มจะหมุนได้เร็วที่สุด และสร้างหมอกน้ำได้ละเอียดมาก เหมาะสำหรับ การสร้างความชื้นในโรงเห็ดทั่วๆไป สามารถสร้างความชื้นกว่า 90% ได้อย่างรวดเร็ว

แนะนำ  การตัดขนโดยใช้กรรไกรตัดโดยรอบให้เท่ากัน ไม่ใช้มีด
ยูเล็ม เหมาะสำหรับ
  • การปลูกผักตามแนวคิด"เกษตรอัตโนมัติ" และCITY FARM รดนำ้เอง พ่นยาเอง และใส่ปุ๋ยเองอย่างอัตโนมัติ
  • เรื่อนเพาะชำ เรือนกล้วยไม้
  • สถานที่ๆไม่ค่อยมีน้ำแห้งแล้ง ต้องใช้น้ำอย่างประหยัด
  • โรงเห็ดทุกชนิด
  • ควบคุมฝุ่นละอองและความร้อน ทั้งคนและปศุสัตว์
  • ตึกเลี้ยงนกนางแอ่น
การใช้ยูเล็มให้เหมาะสม
  • ไม่ใช้ยูเล็มทำงานอย่างต่อเนื่องเกินกว่า2ชั่วโมงต่อครั้ง และพักต้องไม่ต่ำกว่า1ชั่วโมง
  • ใช้ยูเล็มร่วมกับอุปกรณ์ควบคุมที่บริษัทแนะนำ หรือตัวแทนเท่านั้น
  • ไม่ใส่จายยูเล็มขณะที่ยูเล็มทำงานอยู่
  • ควรใช้ยูเล็มกับอุปกรณ์ควบคุมเวลา(Timer)
  • ยูเล็มใช้ไฟฟ้า 12VDC และกินไฟ 1.3W
Diagram การติดตั้งและแนะนำ
ยูเล็ม/ULEM
ต้องการพิมพ์ วิธีติดตั้ง ยูเล็มอย่างถูกต้อง คลิก....ที่ภาพบนนี้เลยครับ..

1. อุปกรณ์สร้างหมอกน้ำ ยูเล็ม (ULEM) ราคา @ 370.- ต่อชุด (หมายเหตุ มีจำหน่ายเฉพาะศูนย์เรียนรู้บ้านเห็ดทุกสาขากว่า 100 สาขาทั่วประเทศในราคาเดียวกันหมด
ประกอบด้วย

  1. แกนแขวนยูเล็ม            จำนวน 1 แกน
  2. ตัวยูเล็ม                        จำนวน 1 ตัว
  3. จานยูเล็มรุ่นเจ้าพายุ     จำนวน 1 จาน
  4. เข็มขัดรัดแกนแขวน     จำนวน 2 ตัว


2. อุปกรณ์ติดตั้งยูเล็ม แนะนำ *** ยูเล็ม ห้ามทำงานโดยไม่มีกล่องควบคุมเด็ดขาด สามารถละลายได้*** ศูนย์"บ้านเห็ด" ได้ออกแบบ/แนะนำอุปกรณ์ที่จำเป็น และเหมาะสมกับการใช้ยูเล็มไว้ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดหาอุปกรณ์  และทราบราคาในการใช้ยูเล็มให้ทำงานอย่างอัตโนมัติ และสามารถใส่ปุ๋ย พ่นยา หรือปรับอุณหภูมิได้อย่างเต็มประสิทธิภาพของ ยูเล็ม...คลิก ที่ภาพ และ download ได้เลย
3. วัสดุที่จำเป็นในการติดตั้งปั้มน้ำเล็ก ทางศูนย์ฯ"บ้านเห็ด" ได้คัดสรร และออกแบบให้ ยูเล็มทำงาน
กับปั้มน้ำขนาดเล็ก เพื่อเป็นประโยชน์ในการเติมปุ๋ย พ่นยา ได้อย่างอัตโนมัติ ปั้มน้ำเล็กจึงเป็นหัวใจหลัก
ในระบบยูเล็ม .....คลิกที่ภาพ และdownload ราคาและวัสดุที่จำเป็นที่ภาพ
ULEM
4. การติดตั้งยูเล็ม และวัสดุที่แนะนำ เพื่อให้ง่าย่อการคำนวนประมาณราคาค่าวัสดุ และการวางแผนการติดตั้ง ยูเล็มอย่างมาตรฐานที่ทางศูนย์ฯ"บ้านเห็ด"ได้กำหนดขึ้น...คลิกที่ภาพ และdownload ครับ
สนใจติดต่อ อ.ทวียศ 081-441-9642 หรือ คลิ๊ก www.banhed.com -----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หม้อนึ่งก้อนเชื้อเห็ด"ไฮเทค"บ้านเห็ด


หม้อนึ่งก้อนเชื้อเห็ด เป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับคนที่รักจะทำเห็ดเป็นอาชีพ  เกษตรกรต้องการนึ่งก้อนเชื้อเห็ดในอุณหภูมิสูง ประมาณ 95-100 องศาซี(อุณหภูมิในก้อนเชื้อเห็ด) เพื่อฆ่าเชื้อโรค/เชื้อราอื่นที่เป็นอุปสรรคในการทำเห็ด
การออกแบบหม้อนึ่งของเกษตรกร และนักวิชาการเกษตร ก็ใช้แนวคิดไม่ต่างจากการนึ่งข้าว หรือซาลาเปา คือต้มน้ำให้เป็นไอร้อน นำไปนึ่งก้อนเชื้อ 
บ้านเห็ด
หม้อนึ่งลูกทุ่ง
หม้อนึ่งลูกทุ่ง แนวคิดหม้อนึ่งลูกทุ่งใน"โครงการหลวง ห้วยฮ่องไคร้" บนดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่  ใช้เวลาในการนึ่งประมาณ 4-5ชั่วโมงต่อการนึ่ง 1ครั้ง ก้อนเห็ดประมาณ 150-180ก้อน การทำงานโดยใช้ถังน้ำมัน 200ลิตร ใส่น้ำลงไปในถัง ประมาณ20ซม. นำก้อนเห็ดเรียงลงไปให้สูง นำถุงดำครอบเป็นฝา แล้วต้มน้ำ ความปลอดภัย ไม่เป็นอันตราย ถ้าเกิดแรงดันมากก็เพียงถุงแตกเท่านั้น ราคาประมาณ 1,000-1,500บาท(ไม่รวมหัวแก๊ส)
หม้อนึ่งก้อนเชื้อแบบโรงงาน  ไม่มีเทคโนโลยีอะไรมากไปกว่าหม้อนึ่งลูกทุ่ง เพียงแต่มีผนังเหล็กที่ช่วยป้องกันไอร้อน หนีออกขณะทำการนึ่งก้อนเชื้อ สามารถนึ่งก้อนเชื้อได้จำนวนมากตั้งแต่ 1000-2000ก้อน แล้วแต่ขนาดการทำงานใส่น้ำลงในตู้นึ่ง ประมาณ 20ซม. นำก้อนเชื้อใส่ลงในลังเหล็ก วางเป็นชั้นๆในตู้ การอบแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 4-5 ชั่วโมง< เวลาขึ้นอยู่กับน้ำที่ใส่ลงไป และการเรียงก้อนเห็ด(อัดก้อนเห็ดโดยไม่ใส่ลังเหล็ก)> ความปลอดภัย ถือว่าเป็นเครื่องมือที่อันตรายมาก การต้มน้ำในวิธีนี้จะเกิดแรงดันขึ้น ถ้าน้ำแห้ง หรือเหล็กบางเกินไปสามารถระเบิด เป็นอันตรายถึงชีวิต หม้อนึ่งแบบนี้จำเป็นที่มีวิศวกรออกแบบ และรับรอง ราคาประมาณ 20,000-30,000บาท(ไม่รวมหัวแก๊ส) หม้อนึ่งก้อนเชื้อ"ไฮเทค"บ้านเห็ด  ทราบกันอยู่แล้วว่า"บ้านเห็ด" เราเป็นวิศวกรที่ชอบ เกษตร เราคิดในแบบเราที่จะนำแนวคิดและความรู้ในเชิงวิศวกรรมมาใช้ในการเกษตร  การนำน้ำจำนวน มากๆมาต้ม กว่าจะเดือดเป็นไอร้อนเพื่อนำไปใช้งานนั้น  เราเลิกใช้ไปนานกว่าสงครามโลกครั้งที่1 เกิด ด้วยซ้ำ เทคโนโลยี่สร้างเรือกลไฟ รถจักรไอน้ำ และการหมุนกังหันปั่นไฟในโรงไฟฟ้า คือแนวทางที่บ้านเห็ดจะ นำมาใช้ในการออกแบบหม้อนึ่งผลิตไอร้อนของเรา แนวคิดคือ การต้มน้ำในบรรยากาศปกติ(ไม่อยู่บนยอดเขา หรือใต้ดิน) ความร้อนไอจะได้เพียง95- 100องศาซี เท่านั้น ไม่ว่าจะใช้ไฟมากหรือร้อนขนาดไหนก็ตาม การที่จะให้ความร้อนสูงขึ้นได้มีวิธีเดียวคือ หม้อแรงดันเท่านั้น ซึ่งอันตราย และราคาแพงเกินไป ไม่คุ้มค่าในการลงทุน แต่ถ้าเราต้มน้ำแล้วได้ ไอร้อนออกมา แล้วนำไอร้อนไปเผาอีกที่ล่ะ จะเกิดอะไรขึ้น เขาเรียกว่า Super Heat (โครต..ร้อน <ไม่รู้จะเรียกเป็นไทยยังงัย..คือร้อนมากๆๆๆ>)  หม้อนึ้งก้อนเห็ด"ไฮเทค"บ้านเห็ด ได้ทดสอบและปรับปรุงให้มีความสามารถเพิ่มขึ้น ง่ายในการควบคุม ความร้อนได้ตั้งแต่ 100-500องศาซี ทำให้การนึ่งก้อนเห็ดใช้เวลาสั้นลง แถมยังใช้งานแทนหม้อนึ่งแรงดันได้อีก ด้วย -----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

โรงเห็ดอัตโนมัติ

 
 
โรงเห็ดอัตโนมัติบ้านเห็ด
โครงการอาหารกลางวันโรงเรียนเทศบาล3 วันฃดชัยมงคล จ.อ่างทอง
 โรงเห็ดอัตโนมัติ ต่อยอดจากการคิดค้นอุปกรณ์สร้างหมอกน้ำ/น้ำฝอยยูเล็ม -ULEM (Ultra Low Energy Mist)  โรงเห็ดอัตโนมัติได้ออกแบบให้มีขนาดบรรจุก้อนเชื้อเห็ดประมาณ 1 000ก้อน  ขนาดโรงเห็ด= ก2.40xย2.40xส2.50เมตร โครงสร้างทำด้วยเหล็กชุบสังกะสีทั้งหลัง และคุมด้วยผ้าใบ Supper Blue Sheet อย่างดีตัดเย็บเข้ารูปกับโครงสร้าง มีประตูเข้าทางด้านหน้าและหลัง การระบายอากาศใช้พักลมเล็ดขนาก 5นิ้วจวนวน 6 ตัว และให้ความชื้นโดย ยูเล็ม จำนวน 4ตัว การทำงานเป็นอย่างอัโนมัติ โดยมีการติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมการทำงานของยูเล็ม และพัดลมระบายอากาศ ให้ทำงานหรือหยุดการทำงานนตามเวลา ที่กำหนด  สามารถเพาะเห็ดได้ทุกชนิด ไม่ว่าเห้ดในเขตร้อนหรือเขตหนาว เช่นเห็ด โคนญิปุ่น เห็ดหัวลิง เห็ดหลินจือ เห็ดนางฟ้า เห็ดโอรินจิ เห็ดหูหนู และเห็ดอื่นๆเป็นต้น
 
โรงเห็ดอัตโนมัติ"บ้านเห็ด"
โครงการอาหารกลางวันโรงเรียน จ.อ่างทอง
 
โรงเห็ดอัตโนมัติ เหมาะสำหรับ
  1. การเพาะเลี้ยงเห็ดก้อนทุกชนิด
  2. เพาะเห็ดในรูปแบบอุตสาหกรรม
  3. โครงการอาหารกางวันโรงเรียน โครงกาเสริมรายได้และสร้างอาชีพชุมชน
  4. โครงการหมู่บ้านเห็ด  หรือการเพาะเลี้ยงเห็ดหลายๆชนิดในที่เดียวกัน โดยมีโรงเห็ดหลายๆโรงและกำหนดให้แต่ละโรงทำงานแตกต่างกัน  ในเรื่อง อากาศ ความชื้น และอุณหภูมิ เพื่อให้เหมาะกับเห็ดในชนิดนั้นๆ
  5.   
  6. ใช้ไฟฟ้าขนาด 220vAC (ไฟฟ้าใช้ในบ้านธรรมดา) สามารถแปลงช้กับแผงรับพลังแสงอาทิตย์อย่างโซลาเซล์(Sola )
ส่วนประกอบของโรงเห็ดอัตโนมัติ
  1. โครงสร้างเหล็กชุบสังกะสีขนาดพิเศษ ต่อเป็นรูปโครงข้อหมุน(TRUSS )ทั้งหลัง ขนาด  ก2.40xย2.40xส2.50เมตร
  2. ผ้าBlue Sheet อย่างหนาตัดเย็บตามรูปของโครงสร้าง มีประตูผ้า2บานปิดด้วยแถบตีนจิ้งจกตลกความยาวประตู มีช้องระบายอากาศที่บริเวณจัวทั้งด้านหน้าและหลัง
  3. ระบายอากาศโดยพัดลมขนาด5นื้นจำนวน 6ตัว 
    โรงเห็ดอัตโนมัติ
    โรงสร้างเหล็กชุบสังกะสี
    
  4. คานแขวนก้อนเชื้อเห็ดเป็นอลูมิเนียมกล่องขนาด ประมาณ 1  3/4นิ้วx 1  3/4นิ้ว หนา 0.5มม. จำนวน4ท่อน
  5. แป้นแขวนเห็ดจำนวน 67ชุด
  6. อุปกรณ์สร้างหมอกน้ำ/ความชื้น ยูเล็ม จำนวน 4ตัว
  7. อุปกรณ์ควบคุมการทำงานและตั้งเวลา 1กล่อง
  8. วาวล์น้ำไฟฟ้า 1ตัว
ผลงาน
  • โครงการส่วนพระองค์สมเด้จพระเทพฯ วังสวนจิตรลัดดา โครงการทกลองเพาะเห็ดหลินจือ และเห้ดหัวลิง จำนวน 4โรง
  • โครงการอาหารกลางวันโรงเรียนเทศบาล3 วัดชัยมงคล จำนวน 1โรง
  • โครงการช่วยพี่น้อง 3ชายแดนภาคใต้ จำนวน 50โรง
  • โครงการส่งเสริมอาชีพและเพิ่มรายได้ชุมชน จังหวัดสมุทรปราการ 110โรง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น